วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560



รายงาน
เรื่อง  มหาเวสสันดรชาดก



จัดทำโดย
นางสาวอินทุอร    กุลชโมรินทร์   หมู่  ชั้นปี 
รหัสนักศึกษา๕๗๒๑๐๔๐๖๒๓๐



เสนอ
อาจารย์วัชรวร   วงศ์กัณหา

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น
ภาคเรียนที่
  ปีการศึกษา ๒๕๕๙


สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์




 คำนำ
            รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา วรรณกรรมท้องถิ่น เป็นการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองนี้เกี่ยวกับเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นนิทานพื้นบ้านที่มีเนื้อหาของวรรณกรรมพื้นบ้าน อีกทั้งทำให้มีความรู้และเป็นแนวทางแก่ผู้ที่สนใจต่อไป
           การศึกษานี้ ได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำเป็นอย่างดี จากท่านอาจารย์วัชรวร  วงศ์กัณหา ที่ให้คำแนะนำในการรวบรวม  ผู้จัดทำจึงใคร่ขอขอบพระคุณทุกท่านมา    โอกาสนี้ด้วย   

                                                                                                   ผู้จัดทำ
                                                                                                               นางสาวอินทุอร   กุลชโมรินทร์                                                                                                                                                                                                                          







ภารกิจพิเศษ สรุปเนื้อหานิทานพื้นบ้าน เรื่อง  มหาเวสสันดรชาดก

บทที่ ๑ 
                                       สรุปเนื้อหาวรรณกรรมท้องถิ่น เรื่อง  มหาเวสสันดรชาดก


ที่มาของเรื่อง
            เรื่องมหาเวสสันดรชาดกมีที่มาจากเหตุการณ์ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพุทธบิดาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์  บรรดาพระประยูรญาติไม่ปรารถนาจะทำความเคารพพระพุทธเจ้า  ด้วยทรงคิดว่าพระพุทธองค์ทรงมีพระชนมายุน้อยกว่า  พระพุทธองค์ทรงทราบความคิดของเหล่าพระประยูรญาติ  จังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์  โดยเสด็จขึ้นสู่นภากาศ  แล้วปล่อยให้ฝุ่ละอองธุลีพระบาทตกลงสู่เศียรของพระญาติทั้งหลาย  พระประยูรญาติจึงได้ละทิฐิแล้วถวายบังคมพระพุทธเจ้า  ขณะนั้นได้เกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายเห็นเป็นอัศจรรย์จึงกราบทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสว่า  ฝนชนิดนี้เคนตกต้องพระประยูรญาติของพระองค์มาครั้งหนึ่งแล้วในอดีต  แล้วทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดกหรือเรื่องมหาชาติแก่พระภิกษุเหล่านั้น

เนื้อเรื่องย่อ มหาเวสสันดรชาดก
          หลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหารย์  ทำให้พระประยูรญาติละทิฐิยอมถวายบังคม  ก็บังเกิดฝนโบกขรพรรษ  พระภิกษุทั้งหลายจึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า  พระพุทธองค์ตรัสเล่าว่า  ฝนชนิดนี้เคยตกมาแล้วในอดีต  พระองค์จึงทรงแสดงธรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก   หรือเรื่องมหาชาติ  ทั้ง ๑๓ กัณฑ์  ดังนี้

เนื้อเรื่องย่อของกัณฑ์ต่างๆ

กัณฑ์ที่ ๑ ทศพร   เป็นกัณฑ์ที่พระอินทร์ประสาทพรแก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร
            ภาคสวรรค์
  พระนางผุสดีเทพอัปสรสิ้นบุญ  ท้าวสักกะเทวราชสวามีทรงทราบจึงพาไปประทับยังสวนนันทวันในเทวโลก พร้อมให้พร ๑๐ ประการ คือ ให้ได้อยู่ในประสาทของพระเจ้าสิริราชแห่งนครสีพี ขอให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาลูกเนื้อ ขอให้คิ้วดำสนิท ขอให้พระนามว่า ผุสดี ขอให้มีโอรสที่ทรงเกียรติยศเหนือกษัตริย์ทั้งหลายและมีใจบุญ ขอให้มีครรภ์ที่ผิดไปจากสตรีสามัญคือแบนราบในเวลาทรงครรภ์ ขอให้มีถันงามอย่ารู้ดำและหย่อนยาน ขอให้มีเกศาดำสนิท  ขอให้มีผิวงาม และข้อสุดท้ายขอให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้ 

กัณฑ์ที่ ๒ หิมพานต์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาค ประชาชนสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต
            พระนางผุสดีได้จุติลงมาเป็นพระราชธิดาพระเจ้ามัททราช  เมื่อเจริญชนม์ได้ ๑๖ ชันษาจึงได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้ากรุงสญชัย แห่งสีวิรัฐนคร ต่อมาได้ประสูติพระโอรสนามว่า เวสสันดรในวันที่ประสูตินั้นได้มีนางช้างฉัททันต์ตกลูกเป็นช้างเผือกขาวบริสุทธิ์จึงนำมาไว้ในโรงช้างต้นคู่บารมีให้มีนามว่า ปัจจัยนาคเมื่อพระเวสสันดรเจริญชนม์ ๑๖ พรรษา พระราชบิดาก็ยกสมบัติให้ครอบครองและทรงอภิเษกกับนางมัทรี พระราชบิดาราชวงศ์มัททราช มีพระโอรส ๑ องค์ชื่อ  ชาลี ราชธิดา ชื่อ กัณหา พระองค์ได้สร้างโรงทาน บริจาคทานแก่ผู้เข็ญใจ ต่อพระเจ้ากาลิงคะแห่งนครกาลิงครัฐได้ส่งพราหมณ์มาขอพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาค พระองค์จึงพระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่พระเจ้ากาลิงคะ ชาวกรุงสัญชัย จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกนอกพระนคร

กัณฑ์ที่ ๓ ทานกัณฑ์ เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่
            ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลี และกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสาสรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐

กัณฑ์ที่ ๔ วนประเวศน์  เป็นกัณฑ์สี่กษัตริย์เดินดงบ่ายประพักตร์สู่เขาวงกต
            เมื่อเดินทางถึงนครเจตราชทั้งสี่กษัตริย์จึงแวะเข้าประทับพักหนาศาลาพระกษัตริย์ผู้ครองนครเจตราชจึงทูลเสด็จครองเมือง  แต่พระเวสสันดรทรงปฏิเสธ  และเมื่อเสด็จถึงถึงเขาวงกตได้พบศาลาอาศรม  ซึ่งท้าววิษณุกรรมเนรมิตตามพระบัญชาของท้าวสักกะเทวราช  กษัตริย์ทั้งสี่จึงทรงผนววชเป็นฤๅษีพำนักในอาศรมสืบมา

กัณฑ์ที่ ๕  ชูชก   เป็นกัณฑ์ที่ชูชกได้นางอมิตตามาเป็นภรรยาและหมายจะได้โอรส  และธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส
            ในแคว้นกาลิงคะมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก  พนักในบ้านทุนวิฐะ  เที่ยวขอทานในเมืองต่างๆ เมื่อได้เงินถึง ๑๐๐ กหาปณะ  จึงนำไปฝากไว้กับพราหมณ์ผัวเมีย  แต่ได้นำเงินไปใช้เป็นการส่วนตัวเมื่อชูชกมาทวงเงินคืนจึงยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชก  นางอมิตดาเมื่อมาอยู่ร่วมกับชูชกได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี  ทำให้ชายในหมู่บ้านเปรียบเทียบกับภรรยาตน  หญิงในหมู่บ้านจึงเกลียดชังและรุมทำร้ายทุบตีนางอมิตดา  ชูชกจึงเดินทางไปทูลขอกัณหาชาลีเพื่อเป็นทาสรับใช้  เมื่อเดินทางมาถึงเขาวงกตก็ถูกขัดขวางจากพราหมณ์เจตบุตรผู้รักษาประตูป่า

กัณฑ์ที่ ๖  จุลพน   เป็นกัณฑ์ที่พรานเจตบุตรหลงชูชก  และชี้ทางสู่อาศรมอจุตฤๅษี
            ชูชกได้ชูกลักลักพริกขิงแก่พรานเจตบุตรอ้างว่าเป็นพระราชสาสน์ของเจ้ากรุงสญชัยจึงได้พาไปยังต้นทางที่จะไปอาศรมฤๅษี

กัณฑ์ที่ ๗ มหาพล   เป็นกัณฑ์ป่าใหญ่  ชูชกหลอกหล่อจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดรแล้วก็รอนแรมเดินไพรไปหา
            เมื่อถึงอาศรมฤๅษี  ชูชกได้พบกับจุตฤๅษี  ชูชกใช้คารมหลอกหล่อนจนอจุตฤๅษี  ให้ที่พักหนึ่งคืนและบอกเส้นทางไปยังอาศรมพระเวสสันดร

 กัณฑ์ที่ ๘  กัณฑ์กุมาร   เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงได้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก
            พระนางมัทรีฝันร้ายเหมือนบอกเหตุแห่งการพลัดพรากรุ่งเช้าเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาอาหารแล้วชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอสองกุมาร  สองกุมารจึงพากันลงไปซ่อนตัวอยู่ที่สระพระเวสสันดรจึงลงเสด็จติดตามสองกุมาร  แล้วจึงมอบให้แก่ชูชก

กัณฑ์ที่ ๙  กัณฑ์มัทรี   เป็นกัณฑ์ที่พระนางมัทรีทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด  อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก
            พระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่าลึกจนคล้อยเย็นจึงเดินทางกลับอาศรม  แต่มีเทวดาแปลงกายเป็นเสือนอนขวางทางจนค่ำ  เมื่อกลับถึงอาศรมไม่พบโอรส  พระเวสสันดรได้กล่าวว่านางนอกใจ  จึงออกเที่ยวหาโอรสและกลับมาสิ้นสติต่อเบื้องพระพักตร์  พระองค์ทรงตกพระทัยลืมตนว่าเป็นดาบส  จึงทรงเข้าอุ้มพระนางมัทรีและทรงกันแสง เมื่อนางมัทรีฟื้นจึงถวายบังคมประทานโทษพระเวสสันดรจึงบอกความจริงว่าได้ประทานโอรสแก่ชูชกแล้ว  หากชีวิตไม่สิ้นคงจะได้พบนางจึงได้ทรงอนุโมทนา

กัณฑ์ที่ ๑๐ สักกบรรพ   เป็นกรรณที่พระอินทร์เจ้าจำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี  แล้วสลบลง           ท้าวสักกะเทวราชเสด็จแปลงเป็นพราหมณ์เพื่อทูลขอนางมัทรีพระเวสสันดรจึงพระราชทานให้พระนางมัทรีก็ยินดีอนุโมทนาเพื่อร่วมทานบารมีให้สำเร็จพระสัมโพธิญาณเป็นเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวสะท้าน  ท้าวสักกะเทวราชในร่างพราหมณ์จึงฝากนางมัทรีไว้ยังไม่รับไป  ตรัสบอกความจริงและถวายคืนพร้อมถวายพระพร ๘ ประการ 

กัณฑ์ที่ ๑๑ มหาราช    เป็นกัณฑ์ที่เทพเจ้าจำแลงองค์องค์ทำนุบำรุงขวัญสองกุมารก่อนเสด็จนิวัติถึงมหานครสีพี
            เมื่อเดินทางผ่านป่าใหญ่ชูชกจะผูกสองกุมารไว้ที่โคนต้นไม้  ส่วนตนปีนขึ้นไปนอนบนต้นไม้เหล่าเทวดาจึงแปลงร่างลงมาปกป้องสองกุมาร  จนเดินทางถึงกรุงสีพีเกิดนิมิตฝันตามคำทำนายยังความปีติปราโมทย์  เมื่อเสด็จลงหน้าลานหลวงตอนรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นชูชกพากุมารน้อยสองพระองค์  ทรงทราบความจริงจึงพระราชทานค่าไถ่คืน ต่อมาชูชกก็ดับชีพตักษัยด้วยเพราะเดโชธาตุไม่ย่อย  ชาลีจูงได้ทูลขอให้ไปรับพระบิดาพระมารดานิวัติพระนคร  ในขณะเดียวกันเจ้านครกลิงคะได้โปรดคืนช้างปัจจัยนาคแก่นครสีพี

กัณฑ์ที่ ๑๒  ฉกษัตริย์   เป็นกัณฑ์ที่ทั้งหกกษัตริย์ถึงวิสัญญีภาพสลบลงเมื่อได้พบหน้า    อาศรมดาบสที่เขาวงกต
            พระเจ้ากรุงสญชัยใช้เวลา ๑ เดือน กับ ๒๓ วัน  จึงเดินถึงเขาวงกต  เสียงโห่  ร้องของทหารทั้ง ๔ เหล่า  พระเวสสันดรทรงคิดว่าเป็นข้าศึกมารบนนครสีพี  จึงชวนนางมัทรีขึ้นไปแอบดูที่ยอดเขาพระนางมัทรีทรงมองเห็นกองทัพพระราชบิดา  ได้ทรงตรัสทูลพระเวสสันดรและเมื่อหกกษัตริย์ได้พบหน้ากันทรงกันแสงสุดประมาณ  รวมทั้งทหารเหล่าทัพ  ทำให้ป่าใหญ่สนั่นครั่นครืน  ท้าวสักกะเทวราชจึงได้ทรงบันดาลให้ฝนตกประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก 

กัณฑ์ที่ ๑๓  นครกัณฑ์   เป็นกัณฑ์ที่หกกษัตริย์นำพยุหโยธาเสด็จนิวัติพระนครททพระเวสสันดรขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดา
            พระเจ้ากรุงสัญชัยตรัสสารภาพผิด  พระเวสสันดรจึงทรงลาผนวชพร้อมทั้งพระนางมัทรีและเสด็จกลับสู่สีพีนคร  เมื่อเสด็จถึงจึงรับสั่งให้ชาวเมืองปล่อยสัตว์ที่กักขัง  ครั้นยามราตรีพระเวสสันดรทรงปริวิตกว่า  รุ่งเช้าประชาชนจะแตกตื่นมารับบริจาคทาน  พระองค์จะประทานสิ่งใดแก่ประชาชนท้าวโกสีห์ได้ทราบจึงบันดาลให้มีฝนแก้ว ๗ ประการ  ตกลงมาในนครสีพีสูงถึงหน้าแข้ง  พระเวสสันดรจึงทรงประกาศให้ประชาชนขนเอาตามปรารถนา  ที่เหลือให้ขนเข้าคลังหลวง  ในการต่อมาพระเวสสันดรเถลิงราชสมบัติปกครองนครสีพีโดยทศพิธราชธรรมบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขตลอดพระชนมายุ



บทที่ ๒
          วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
      ที่มาของหนังสือ

 ผู้แต่ง    พระมหาบุญตา ถิรจิตฺโต
 ชื่อเรื่อง เทศน์แหล่พระเวสสันดรชาดก 
พิมพ์จำหน่ายที่ บริษัท ขอนแก่น คลังนานานธรรม จำกัด
พ.ศ. ๒๕๔๗

หนังสือที่เกี่ยวกับมหาเวสสันดรชาดก
      ๑) มหาชาติคำหลวง  เป็นหนังสือที่แต่งเป็นภาษาไทยเล่มแรก  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดเกล้าให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตในราชสำนัก  แปลจากภาษาบาลีเมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๕  วิธีแต่งใช้คำประพันธ์โคลง ร่าย ฉันท์ กาพย์   จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อใช้สวดให้พุทธศาสนิกชนฟัง
      ๒) กาพย์มหาชาติ  แต่งในสมัยพระเจ้าทรงธรรม  เมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐  ลักษณะการแต่งเป็นร่ายยาว  จุดประสงค์ในการแต่งเพื่อให้พระเทศน์  จึงเข้าใจง่ายเพราะมีภาษาบาลีน้อย ถือกันว่าถ้าฟังเทศน์มหาชาติครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์  ในวันเดียวกันจะได้บุญมาก   แต่กาพย์มหาชาติแต่งยาวมาก ไม่อาจเทศน์จบทั้ง ๑๓ กัณฑ์  ในวันเดียวได้
      ๓) มหาชาติกลอนเทศน์  หรือ  ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก  แต่งด้วยคำประพันธ์ร่ายยาว  สามารถเทศน์ให้จบได้ทั้ง ๑๓ กัณฑ์  ในวันเดียว   สำนวนที่ดีจากมหาชาตกลอนเทศน์ มีดังนี้         

๑.วิเคราะห์ชื่อเรื่อง
               มหาเวสสันดรชาดก หรือ มหาชาติ      
            “มหาชาติ”   แปลว่า  ชาติที่ยิ่งใหญ่  เป็นชาติที่พระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร                
            “เวสสันดร”  น. ชื่อพระโพธิสัตว์ชาติที่ ๑๐ ในทศชาดก พระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นโอรสกษัตริย์องค์หนึ่ง มีพระนามว่า พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานอย่างยอดเยี่ยม ที่มีนามว่าเวสสันดร เพราะประสูติในตรอกพวกพ่อค้า.               
            “ชาดก”  เป็นเรื่องที่มีมาก่อนพุทธกาล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ หรือ เป็นชีวประวัติในชาติก่อนของพระพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้              
            มหาเวสสันดรชาดก จึงเป็นชาดกเรื่องใหญ่ กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ได้บำเพ็ญบารมีอย่างสูงสุด  ยากเกินกว่าจะมีผู้ใดทำได้คือให้บุตรและภรรยาแก่ผู้ที่มาขอ นอกจากนั้นยังบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่อื่นๆครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการ  จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "มหาชาติ"

๒. แก่นเรื่อง
                 ผู้ที่ปรารถนาสิ่งต่างๆ อันยิ่งใหญ่จะต้องทำด้วยความอดทนและเสียสละอันยิ่งใหญ่ด้วย
(เฉกเช่นพระเวสสันดรที่ทรงปรารถนาพระโพธิญาณ จึงต้องทรงบำเพ็ญบุตรทานที่ถือว่าเป็นทานที่สูงส่ง)

๓.โครงเรื่อง                (ดำเนินเรื่องตามลำดับเวลา)

   การเปิดเรื่อง
            -พระอินทร์ประทานพร ๑๐ ประการ แก่พระนางผุสดี ก่อนที่จะจุติลงมาเป็นพระราชมารดาของพระเวสสันดร

การดำเนินเรื่อง

            การผูกปม
              - พระเวสสันดรบริจาคทานช้างปัจจัยนาเคนทร์  ประชาชนชาวสีพีโกรธแค้นจึงขับไล่ให้ไปอยู่เขาวงกต 
            - พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนออกจากพระนครเดินทางไปยังสู่เขาวงกต
            - ในแคว้นกาลิงครัฐมีพราหมณ์แก่ชื่อชูชก และได้นางอมิตตามาเป็นภรรยาและเดินทางไปขอโอรสและธิดาพระเวสสันดรมาเป็นทาส
              - ชูชกเดินทางตามหาพระเวสสันดรไปเจอพรานเจตบุตร และ จุตฤๅษี แล้วหลอกให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดร

            จุดวิกฤต
            - ชูชกไปพบพระเวสสันดรและทูลขอกัณหา ชาลี พระเวสสันดรทรงได้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก พระนางมัทรีทราบทรงโศกเศร้าเสียใจยิ่งนัก และทรงได้ตัดความห่วงหาอาลัยในสายเลือด  อนุโมทนาทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก
            จุดวิกฤต

            - พระอินทร์เจ้าจำแลงกายเป็นพราหมณ์มาขอพระนางมัทรี พระเวสสันดรทรงประทานให้
            การแก้ปม

            - พระอินทร์ ทรงคืนนางมัทรีให้แก่พระเวสสันดร
           - ชูชกหลงทางเข้าไปยังนครสีพี และได้พบพระเจ้าสญชัย ทรงไถ่คืน ตัวกัณหาและชาลี และเลี้ยงข้าวปลาอาหารให้แก่เฒ่าชูชก กินจนตาย

การปิดเรื่อง
            จุดคลี่คลายปม

            - พระเจ้าสญชัยนำขบวนออกไปเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัททรี กลับมายังพระนคร เมื่อทั้งหกกษัตริย์ได้พบหน้ากัน    อาศรมดาบสที่เขาวงกต ก็เศร้าโศกเสียใจ กับเรื่องที่เกิดขึ้น ถึงวิสัญญีภาพสลบลง เกิดฝนตกประพรมหกกษัตริย์และหวยหาญได้หายเศร้าโศก และเดินทางกลับพระนคร พระเวสสันดรก็ขึ้นครองอย่างอย่างสันติสุข




๔.  ตัวละคร

            พระเจ้าสญชัย-พระนางผุสดี
                        พระเจ้ากรุงสญชัย-พระนางผุสดี เป็นแบบอย่างของนักปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ รู้จักผ่อนผันเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ ไม่เห็นแก่พวกพ้องแม้แต่พระราชโอรสของพระองค์เอง

            พระเวสสันดร
                        พระเวสสันดร  เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม  มุ่งบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ยอมเสียสละความสุขส่วนพระองค์ แม้จะทุกข์ก็ไม่หวั่น เป็นแบบอย่างของบุคคลผู้ไม่ยึดติดอำนาจวาสนา รู้ซึ้งถึงโลกธรรมที่ว่า   ยามมียศ เขาก็ยก ยามต่ำตกเขาก็หยามทำให้เกิดความไม่หวั่นไหวหรือล้มเลิกบำเพ็ญบารมี

            พระนางมัทรี
                        พระนางมัทรี เป็นแบบอย่างของภรรยาผู้มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตรของสามี ที่สนับสนุนเป้าหมายชีวิตอันประเสริฐที่สามีได้ตั้งไว้ และยังเป็นแบบอย่างของภรรยาตามทัศนะของคนตะวันออก เช่น ปฏิบัติดูแลเรื่องอาหารที่อาศัยและทรงคุณธรรมสำคัญ คือ ซื่อตรง  จงรัก   หนักแน่น

            พระชาลี-พระนางกัณหา
                        พระชาลี-พระนางกัณหา เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่ เข้าใจในเจตนาแห่งการประพฤติธรรมเพื่อประโยชน์ของคนหมู่มากของพ่อคือพระเวสสันดร กตัญญูปกป้องบุพการี

           นางอมิตตดา
                        นางอมิตตดา เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ตามคติของคนยุคนั้น เป็นภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามีตามคตินิยม แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตัวอย่างของคนที่ไม่มีความมั่นคงในความดี  หวั่นไหวในถ้อยคำของคนพาล  ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามกระแสของสังคมจนเกินควร

            พ่อแม่ของนางอมิตตดา
                        พ่อแม่ของนางอมิตตดา เป็นแบบอย่างของคนสุรุ่ยสุร่ายประมาทในการใช้จ่ายไม่รู้จักประมาณตนเอง สร้างหนี้สินก่อเวรก่อกรรมไว้ให้ลูก

            ชูชก
                       ชูชก   เป็นแบบอย่างของคนที่ติดอยู่ในกามคุณเข้าลักษณะว่า วัวแก่กินหญ้าอ่อน”  ต้องตกระกำลำบากในยามชรา เพราะหลงเมียสาว ดังที่โบราณกล่าวว่า ความรู้เป็นพิษเพราะเหตุไม่ใช้ปราสาทเป็นพิษเพราะคนเข็ญใจ อาหารเป็นพิษเพราะไฟธาตุไม่ย่อย เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก่

            นางพราหมณี หรือ ภรรยาของพราหมณ์เพื่อนของชูชก
                        นางพรามณีภรรยาของพราหมณ์หมู่บ้านทุนวิฐ  เป็นแบบอย่างของชาวบ้านที่อิจฉาริษยาผู้อื่น โดยไม่คิดที่จะพิจารณาหาทางปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น

           พรานเจตบุตร, อจุตฤาษี, กษัตริย์เจตราช, ชาวเมืองเชตุดร
                      เป็นแบบอย่างของคนดีแต่ขาดความเฉลียวจึงต้องตกเป็นเยื่อของเฒ่าชูชก   ส่วนพระอจุตฤาษีเป็นแบบ อย่างของนักธรรมผู้ฉลาด แต่ขาดเฉลียว หูเบาเชื่อคนง่าย ดังโบราณว่า สงสารฉิบหาย เชื่อง่ายเป็นทุกข์

การใช้ภาษา    
                 
                 มีการใช้ภาษาในการเขียนแบบเป็นกลอนเทศน์ที่นักเทศน์ทั้งหลายนิยมใช้ และใช้คำสำนวนภาษาอีสานในการเขียนเรื่องซึ่งมีความโดดเด่นทางภาษา มีการเรียบเรียงเนื้อหาเหมือนร้อยแก้วเพื่อให้อ่านง่ายและในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก มีการใช้โวหารภาพพจน์หรือภาพพจน์เป็นกลวิธีทางภาษาที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจและเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร เนื้อเรื่อง และการบรรยายฉาก ให้แจ่มแจ้งทั้งความโดยตรงและความหมายโดยนัย แฝงเร้นข้อคิด คุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิต พร้อมทั้งเน้นให้ผู้อ่านเกิดทั้งอรรถรสและสุนทรีย์ รสในการสื่อสาร อันเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งทางวรรณศิลป์ ที่แสดงให้เห็นถึงความไพเราะงดงามในการใช้ภาษาถิ่นอีสารสื่อเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์

๔. ฉากและสถานที่
            ฉากหลัก

                        - ฉากนครสีพีรัฐบุรี บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ มีกษัตริย์ปกครองชื่อ ท้าวสัญชัย"  และมีมเหสีชื่อนางผุสดี  พระราชกุมาร พระนามว่า “เวสสันดร”
                       

                           - ฉากพระเวสสันดร มัทรี ชาลี กัณหา เสด็จมุ่งสู่ป่าเขาคีรีวงกต


                           -ฉากที่พระเวสสันดรทรงได้ทานสองโอรสแก่เฒ่าชูชก
                       


                         -ฉากพระนางมัทรีเดินเข้าไปหาผลไม้ในป่า

                ฉากรอง


                   - ฉากชูชกอยู่อาศัยกับนางอมิตตดา


- ฉากที่พรานเจตบุตรหลงชูชก  และชี้ทางสู่อาศรมอจุตฤๅษี



                            - ชูชกหลอกหล่อจุตฤๅษีให้บอกทางสู่อาศรมพระเวสสันดร



บทที่ ๓
ความโดดเด่นของโครงเรื่อง
ความโดดเด่นของโครงเรื่อง
            มหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกเรื่องใหญ่ กล่าวถึงพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร ได้บำเพ็ญบารมีอย่างสูงสุด ยากเกินกว่าจะมีผู้ใดทำได้คือให้บุตรและภรรยาแก่ผู้ที่มาขอ นอกจากนั้นยังบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่อื่นๆครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการ  จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "มหาชาติ" และการเทศน์เรื่องพระเวสสันดรก็เรียกว่าเทศน์มหาชาติมหาเวสสันดรชาดก
   
บทที่ ๔
                                                                      การนำไปประยุกต์ใช้

              เรื่องมหาเวสสันดรชาดก ได้รับการนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา 
มีการสร้างเป็นเทป ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และ สารคดี เพื่อเผยแพร่แก่ประชน

 ๑. พ.ศ. ๒๕๐๔ ในชื่อว่า มหาเวสสันดร กำกับการแสดงโดย เนรมิต อำนวยการสร้างโดย จรี อมาตยกุล สร้างและจัดจำหน่ายโดย เนรมิตภาพยนตร์ 

 ๒. พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยใช้ชื่อว่า ชูชก กัณหา ชาลี สร้างโดยบริษัท ไทยสากลธุรกิจ จำกัด ของ ณรงค์ สันติสกุลชัยพร 


๓. ละครโทรทัศน์ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๗ ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ นำแสดงโดย พัลลภ พรพิษณุ รับบทเป็น พระเวสสันดรเยาวเรศ นิศากร รับบทเป็น พระนางมัทรีประพัตร์ มิตรภักดี รับบทเป็น ชูชกแฉล้ม บัวเปลี่ยนสี 

๔. พ.ศ. ๒๕๓๙ บริษัทสามเศียรได้ผลิตละครชื่อว่า กัณหา ชาลี (มหาเวสสันดรชาดก)

๕. ถูกนำไปใช้ในการแสดงหมอลำกลอน การแทศแหล่ มหาชาติ ผลิตเป็นการ์ตูน และสื่อต่างๆ อีกมากมาย















สรุปท้ายเรื่องอินโฟกราฟฟิก




นางสาวอินทุอร    กุลชโมรินทร์   หมู่  ชั้นปี 

รหัสนักศึกษา๕๗๒๑๐๔๐๖๒๓๐


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น